วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

27 มีนาคม 2561

วันนี้เป็นการนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ได้ไปสัมภาษณ์คุณครูหรือเจ้าหน้าที่ที่บทบาทดูแลเด็กปฐมวัย

โดยที่อาจารย์จะกำหนดหัวข้อมาให้ 5 หัวข้อ ดังนี้

1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง

2. ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร

3. ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร

4. ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้าง อย่างไร

5. ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร


กลุ่มของดิฉันได้ไปสัมภาษณ์คุณครูโรงเรียนบางบัว


จากการได้ไปสัมภาษณ์คุณครูและที่ได้ฟังเพื่อนๆนำเสนอ ทำให้รู้แนวทางในการที่จะไปสอนเด็กและการวางตัวอยู่กับเด็กมากขึ้น ทำให้ได้เห็นปัญหาต่างๆในแต่ละโรงเรียน



ประเมินตัวเอง

เข้าเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
เตรียมตัวในการจะนำเสนองานตัวเองเป็นอย่างดีและตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองาน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆแนะนำโรงเรียนที่ตัวเองไปสัมภาษณ์ได้ดี
และเตรียมวีดีโอในการนำเสนองานได้ดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยแนะนำและให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

20 มีนาคม 2561

เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียนแล้วก็มีการพูดคุยเล็กน้อยเพื่อรอเพื่อนคนที่ยังไม่มา เพราะยังไม่ถึงเวลา
วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเรื่องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
  2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือ

เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็ก
และวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็น
สมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยม
ของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่
เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่า
การกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ ข้าง และผลจาก
การกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง จะมีผลกระทบต่อเด็ก ทั้งนี้เพราะ
เด็กอยู่ในสังคม
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ปฐมวัยมีดังนี้
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กโดยพฤติกรรม

บางอย่างจะถูกกระตุ้นให้เร็วขึ้น โดยสิ่งแวดล้อมหรืออาจจะช้าลงถ้าเด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
  2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
  3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
  เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน


2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
  ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
  2.1 สนาม
  2.2 สวนในโรงเรียน


การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
"จริยธรรม" คือหลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีที่เหมาะที่ควร
"จริยธรรม"คือหลักคำสอนที่ว่าด้วยเเนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการเเละเป็นที่ยอมรับนับถือ

ส่วนความหมายเเม่การนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าจริยธรรม
เป็นแนวทางที่เเสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ
การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้นมีเเนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ทฤษฏีจริยธรรมตามเเนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
"โคลเบอร์ก"
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยเเบ่งออกเป็น3ระดับ คือระดับก่อนเกณฑ์ระดับเกณฑ์สังคมเเละระดับเลยเกณฑ์ของสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามเเนวคิดสกินเนอร์
"สกินเนอร์"
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฏีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามเเนวคิดของแบนดูรา
"แบนดูรา"
นักจิตวิทยาสังคมอธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยสังเกตุจกตัวเเบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1.การใช้วิธีการให้รางวัลเเละการลงโทษทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้คำชมเชยยกย่อง ยอมรับการเเสดงความชื่นชมไม่มากหรือน้อยไป
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย 
1.การรับรู้
 2.การตอบสนอง
 3.การจัดระเบียบ

 4.การสร้างลักษณะนิสัย

 คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ
1.ขยัน
2.ประหยัด
3.ซื่อสัตย์
4.มีวินัย
5.สุภาพ
6.สะอาด
7.สามัคคี
 8.มีน้ำใจ


ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงตามเวลาเเละตั้งใจอาจารย์ฟังอาจารย์

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี 
แต่ก็จะมีบางคนที่หลับบ้างเพราะวันนี้มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนและอธิบายได้อย่างละเอียดชัดเจน
อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสำหรับเ็นแบบอย่างที่ดี

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

6 มีนาคม 2561

วันนี้ก็เหมือนกับทุกสัปดาห์ก่อนเริ่มต้นเข้าสู่การเรียนก็ต้อมปั๊มไก่ จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกเกี่ยวกับการไปสัมภาษณ์คุณครูและอาจารย์ก็ได้แจกเอกสารแต่ละกลุ่มเพื่อไปให้ยื่นให้กับโรงเรียนที่จะไปขอสัมภาษณ์คุณครูเกี่ยวกับเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
เมื่ออาจารย์อธิบายรายละเอียดทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน
บทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดามารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ้ลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตเเละยังมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม เเละสติปัญญา

ความสำคัญของพ่อเเม่ในการอบรมเลี้ยงดู
       คุณภาพเเละประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเเต่ละคนตามวียต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพเเละประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนเเละประสบการณ์ที่ต่เนื่องตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึงวัยปัจบัน

บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
  1.มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
  2.สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน
  3.ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
  4.ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลเเละสิ่งต่างๆ
  5.ส่งเสริมความสนใจของเด็ก
  6.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
  7.สร้างสิ่งเเวดล้อมที่ดีให้เเก่เด็ก
  8.ทำตัวเป็นครูของเด็ก
  9.การให้เเรงเสริมและการลงโทษ

รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  
บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรม้ลี้ยงดู 
     1.การตี
     2.การขู่
     3.การให้สินบน
     4.การเยาะเย้ย
     5.การทำโทษรุนเเรงเกินไป
     6.การล่อเลียน
     7.การคาดโทษ
     8.การกระทำให้ได้รับความเจ็บปวด
     9.การทำให้ได้รับความอับอาย
     10.การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า

ความสำคัญเเละวามสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก
วิธีดารอบเลี้ยงดู
      ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก หมายถึงความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกเเละความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อมเเม่นั่นเองเเต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อเเม่ต่างกัน เช่นมีคำกล่าวว่าลูกสาสมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับเเม่มากกว่าพ่อ เป็นต้น

  เจตคติของพ่อเเม่ที่มีต่อลูก 6แบบ
    1. พ่อแม่ที่รักเเละคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
   2.พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป
   3.พ่อเเม่ทอดทิ้งเด็ก
   4.พ่อแม่ที่ยอมนับเด็ก
   5.พ่อเเม่ที่ชอบบังคับลูก
   6.พ่อแม่ที่ยิมจำนนต่อลูก

                                                         
    


                                                               ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาไม่มาสาย ตั้งใจฟังและจดตามอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้ามาบางคนก็สายบ้างบางคนก็มารอเรียน
บ้างเเละเพื่อนเเต่ล่ะคนมีความตั้งใจเเละทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้ดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนและอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจให้ น้ำเสียงชัดเจนฟังแล้วไม่น่าเบื่อ