วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


20 กุมภาพันธุ์  2561

วันนี้เป็นวันที่ทุกคนต้องออกไปเล่าบทความหน้าชั้นเรียน อาจารย์ให้หัวข้อในการหาบทความคือ
ให้เกียวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เมื่อถึงเวลาเพื่อนๆแต่ละคนก็ออกไปนำเสนอบทความของตัวเอง ทุกคนมีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ส่วนดิฉันเลือกเอาบทความเรื่อง โภชนาการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เนื้อหาของบทความก็มีดังนี้


ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือแรกเกิด ถึง 7 ปี สมองพัฒนาไปถึง 80% ของผู้ใหญ่ เด็กจึงควรได้รับการดูแลด้านโภชนาการและสุขลักษณะ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้เต็มความสามารถ

อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ปี) จึงควรมีครบทั้ง 5 หมู่ และมีปริมาณเพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

แรกเกิด – 6 เดือน : นมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับทารกทุกคน เนื่องจากมีทั้งสารอาหารและภูมิต้านทานโรค 

6 เดือน - 1 ปี : น้ำนมแม่เริ่มลดลง จึงควรเริ่มอาหารเสริม กึ่งเหลวบดละเอียด 2-3 ช้อนโต๊ะ ให้เริ่ม 1 มื้อในช่วงแรก สังเกตอาการแพ้อาหาร เมื่อเด็กคุ้นเคยดีแล้วจึงเริ่มอาหารชนิดใหม่ ข้นขึ้นและหยาบขึ้นตามลำดับ 8-9 เดือน ให้อาหารเสริม 2 มื้อ 10-12 เดือน ให้อาหารเสริม 3 มื้อ ควรให้โอกาสทารกได้หยิบจับอาหารกินเองบ้างเมื่อใช้มือได้

1-5 ปี : เด็กต้องการอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตเต็มที่ของร่างกาย บำรุงเซลล์ประสาท เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรให้อาหารเหล่านี้แก่เด็ก

  • ตับ ไข่แดง เลือด ช่วยเสริมความจำ และสมาธิ
  • ปลา ช่วยเพิ่มความจำ การเรียนรู้ง่ายและรวดเร็ว
  • ผัก ผลไม้ มีวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ
  • นม เนื้อสัตว์ มีแร่ธาตุ มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • อาหารทะเล มีไอโอดีนมีผลต่อ IQ

พ่อแม่มีส่วนช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้ง่ายขึ้นโดย

  • ให้เด็กได้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ
  • จัดอาหารให้น่ารับประทาน สีสันดึงดูด ชมเชยเมื่อเด็กรับประทานอาหารหมด
  • พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับประทานอาหาร ไม่เลือกอาหาร และสนุกกับการรับประทานอาหาร
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารร่วมกัน

การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กขึ้นกับ อาหาร พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ สมองจึงจะพัฒนาได้เต็มศักยภาพ แล้วประเทศของเราจะพัฒนาตามไปด้วย ดังคำกล่าว "เด็กฉลาด ชาติเจริญ"


เมื่อนำเสนอบทความครบทุกคนก็หมดเวลาพอดี อาจารย์ก็ปล่อย



ประเมินตัวเอง
วันนี้ก็เข้าเรียนตรงเวลา ไม่มาสาย เตรียมตัวมานำเสนอบทความเป็นอย่างดี และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเตรียมบทความมานำเสนอบทความเป็นอย่างดี 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แนะนำและคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอบทความเป็นอย่างดี 
และคอยอธิบายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เพื่อนนำเสนอ

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

13  กุมภาพันธ์ 2561

ก่อนเริ่มต้นการเรียนอาจารย์ก็ให้ปั๊มไก่เหมือนทุกครั้ง วันนีอาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้อีกหนึ่งงานคือ
ให้ไปสัมภาษณ์ครูผู้สอนระดับปฐมวัย 



จากนั้นเมื่อเพื่อนๆมากันเกือบครบแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานของตัวเองเกี่ยวกับนักทฤษฎี มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

1.ทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์


ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmond Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ
โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ
อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

2.ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน




อีริค อีริคสัน(Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative

versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี

3.ทฤษฎีของกรีเซล


อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
  ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ
  - ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี
  - ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี

4.ทฤษฎีด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก


ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lowrence Kohlberg) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี
  มี 2 ระยะ
  ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
  ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี

5.ทฤษฎีพัฒนการด้านความคิดเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์     (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก
พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้
 1. การให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
  2. การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
  3. พัฒนาการทางความคิด
  4. ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
  5. ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด

  6. การพัฒนาทางความคิด

กลุ่มไหนนำเสนอเสร็จแล้วก็ให้ลิ้งค์บล็อกของตัวเอง



เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เปิดข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ดูและได้อธิบายอย่างละเอียด








ประเมินอาจารย์

อาจารย์ใจดีน่ารักอธิบายได้อย่างละเอียด ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเตรียมงานมาเพื่อนำเสนอเป็นอย่างดี และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจมีลูกเล่นเยอะ

ประเมินตัวเอง

ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและเพื่อนนำเสนองานเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

6  กุมภาพันธุ์ 2561

ก่อนเริ่มต้นการเรียนอาจารย์ก็ให้ปั๊มไก่เหมือนทุกครั้ง วันนี้อาจารย์ก็พูดคุยเรื่องไปสังเกตการณ์สอนโรงเรียนสาธิตว่าเริ่มได้แล้ว ให้นักศึกษาทุกคนเก็บชั่วโมงให้ครบตามที่อารจารย์กำหนด และอาจารย์ก็ได้มอบหมายอีกชิ้นให้ไปสัมภาษณ์คุณปฐมวัยว่ามีบทบาทหน้าที่อย่างไรบ้าง


จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานของกลุ่มตัวเอง
เมือแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมอย่างละเอียด



และเวลาที่เหลืออาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนที่พร้อมนำเสนองานของนักทฤษฎี ออกไปนำเสนอ 1 กลุ่ม เพราะเหลือเวลาไม่มาก จากนั้นอาจารย์ก็ปล่อย



ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ความรู้และคำแนะนำนักศึกษาอย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานเป็นอย่างดี


ประเมินตัวเอง

ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานเป็นอย่างดี