วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

24เมษายน 2561

วันนี้เป็นวันที่ทำอาหารเพื่อนแต่ละคนทุกกลุ่มก็เตรียมอุปกรณ์มาเพื่อทำอาหารที่โรงเรียนสาธิต
มีการทำอาหารหลักและขนมหวานสำหรับเด็ก

กลุ่มของดิฉันทำ ข้าวผัดปลาทูน่าหลากสี แกงจืด และทับทิมกรอบ











และนี่คืออาหารของแต่ละกลุ่ม

เมื่อทำเส็จทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ได้สรุปการทำอาหารของแต่ละกลุ่ม
และก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการปรุงอาหารสำหรับเด็กว่าไม่ควรใช้เครื่องปรุงเยอะ
ของหวานก็ไม่ควรหวานมาก ต้องทำให้สุก

วันนี้อาจารย์ก็ร่วมทำอาหารไปกับพวกเราด้วยอาจารย์ทำเป็นของหวาน
คือบัวลอยทำเสร็จอาจารย์ก็ให้พวกเราทุกคนชิมด้วย อร่อยมาก


ประเมินตัวเอง

วันนี้มีความสุขมากที่ได้ทำอาหาร
 เป็นครั้งแรกที่ทำทับทิมกรอบแล้วก็ต้องเปิดสูตรในอินเทอร์เน็ตดูด้วย

ประเมินเพื่อน

ทุกคนมีความสุขที่ได้ทำอาหารและได้ไปชิมอาหารของกลุ่มอื่น

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ใจดี ทำบัวลอยอร่อย
และก็ได้คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำอาหารอยู่ตลอด 



วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

17 เมษายน 2561

วันนี้ก่อนเริ่มต้นการเรียนก็ได้มีการพูดคุยเรื่องวันหยุดที่ผ่านมาเล็กน้อย เพื่อนบางคนก็กลับมาเรียนไม่ทันเนื่องจากกลับต่างจังหวัดไม่มีรถกลับ
แล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน

เมื่อเพื่อนนำเสนองานหมดทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ได้บอกว่าอาทิตย์หน้าจะมีการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ให้แบ่งกลุ่มและเตรียมอุปกรณ์มาให้พร้อม

วันนี้อาจารย์ก็ได้สอนเรื่อง อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก

-อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิต 
ทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรก และใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา
-อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย
 เนื้อสัตว์แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร 
เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง    มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้
หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
      อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
  การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

                

อาหารที่มีโทษเป็นพิษภัยแก่เด็ก

ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึง ถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นาน ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าอาหารนั้นๆ ดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรองหรือขาดความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คง สภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด นั้นต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุเหล่านี้เองที่เป็นอันตรายได้ 




ประเมินตัวเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมพร้อมเพื่อนำเสนองาน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆบางคนมาสายบางคนยังไม่กลับต่างจังหวัด 
แต่ทุกคนก็มีงานมานำเสนอทุกกลุ่มมีความรับผิดชอบสูง

ประเมินอาจารย์

ในขณะที่ทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติม 
ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น


วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

10 เมษายน 2561

วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากลากลับบ้านที่ต่างจังหวัด


วันนี้เป็นการนำเสนอบทบาทสมมุติของแต่ละกลุ่ม
และอาจารย์มอบมายงานให้ไปสื่อการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

3 เมษายน 2561

วันนี้อารจารย์ได้พาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่

เข้าร่วมชมงานนิทรรศการ ๑๒๕ ปี อัยการไทย 


วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

27 มีนาคม 2561

วันนี้เป็นการนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ได้ไปสัมภาษณ์คุณครูหรือเจ้าหน้าที่ที่บทบาทดูแลเด็กปฐมวัย

โดยที่อาจารย์จะกำหนดหัวข้อมาให้ 5 หัวข้อ ดังนี้

1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง

2. ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร

3. ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร

4. ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้าง อย่างไร

5. ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร


กลุ่มของดิฉันได้ไปสัมภาษณ์คุณครูโรงเรียนบางบัว


จากการได้ไปสัมภาษณ์คุณครูและที่ได้ฟังเพื่อนๆนำเสนอ ทำให้รู้แนวทางในการที่จะไปสอนเด็กและการวางตัวอยู่กับเด็กมากขึ้น ทำให้ได้เห็นปัญหาต่างๆในแต่ละโรงเรียน



ประเมินตัวเอง

เข้าเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
เตรียมตัวในการจะนำเสนองานตัวเองเป็นอย่างดีและตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองาน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆแนะนำโรงเรียนที่ตัวเองไปสัมภาษณ์ได้ดี
และเตรียมวีดีโอในการนำเสนองานได้ดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยแนะนำและให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

20 มีนาคม 2561

เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียนแล้วก็มีการพูดคุยเล็กน้อยเพื่อรอเพื่อนคนที่ยังไม่มา เพราะยังไม่ถึงเวลา
วันนี้เรียนเรื่อง แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเรื่องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
  2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือ

เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็ก
และวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็น
สมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยม
ของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่
เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่า
การกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ ข้าง และผลจาก
การกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง จะมีผลกระทบต่อเด็ก ทั้งนี้เพราะ
เด็กอยู่ในสังคม
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ปฐมวัยมีดังนี้
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กโดยพฤติกรรม

บางอย่างจะถูกกระตุ้นให้เร็วขึ้น โดยสิ่งแวดล้อมหรืออาจจะช้าลงถ้าเด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
  2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
  3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
  เป็นการจัดวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร และภายในห้องเรียน


2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
  ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน สอดคล้องและเสริมประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2 ส่วน คือ
  2.1 สนาม
  2.2 สวนในโรงเรียน


การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
"จริยธรรม" คือหลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีที่เหมาะที่ควร
"จริยธรรม"คือหลักคำสอนที่ว่าด้วยเเนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการเเละเป็นที่ยอมรับนับถือ

ส่วนความหมายเเม่การนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าจริยธรรม
เป็นแนวทางที่เเสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ
การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้นมีเเนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ทฤษฏีจริยธรรมตามเเนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
"โคลเบอร์ก"
เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยเเบ่งออกเป็น3ระดับ คือระดับก่อนเกณฑ์ระดับเกณฑ์สังคมเเละระดับเลยเกณฑ์ของสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามเเนวคิดสกินเนอร์
"สกินเนอร์"
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้เสนอทฤษฏีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามเเนวคิดของแบนดูรา
"แบนดูรา"
นักจิตวิทยาสังคมอธิบายว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้โดยสังเกตุจกตัวเเบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริงหรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1.การใช้วิธีการให้รางวัลเเละการลงโทษทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้คำชมเชยยกย่อง ยอมรับการเเสดงความชื่นชมไม่มากหรือน้อยไป
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย 
1.การรับรู้
 2.การตอบสนอง
 3.การจัดระเบียบ

 4.การสร้างลักษณะนิสัย

 คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ
1.ขยัน
2.ประหยัด
3.ซื่อสัตย์
4.มีวินัย
5.สุภาพ
6.สะอาด
7.สามัคคี
 8.มีน้ำใจ


ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงตามเวลาเเละตั้งใจอาจารย์ฟังอาจารย์

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี 
แต่ก็จะมีบางคนที่หลับบ้างเพราะวันนี้มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนและอธิบายได้อย่างละเอียดชัดเจน
อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสำหรับเ็นแบบอย่างที่ดี

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

6 มีนาคม 2561

วันนี้ก็เหมือนกับทุกสัปดาห์ก่อนเริ่มต้นเข้าสู่การเรียนก็ต้อมปั๊มไก่ จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกเกี่ยวกับการไปสัมภาษณ์คุณครูและอาจารย์ก็ได้แจกเอกสารแต่ละกลุ่มเพื่อไปให้ยื่นให้กับโรงเรียนที่จะไปขอสัมภาษณ์คุณครูเกี่ยวกับเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
เมื่ออาจารย์อธิบายรายละเอียดทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน
บทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่บิดามารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการ้ลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตเเละยังมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม เเละสติปัญญา

ความสำคัญของพ่อเเม่ในการอบรมเลี้ยงดู
       คุณภาพเเละประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเเต่ละคนตามวียต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในวัยทำงานนั้นจะมีคุณภาพเเละประสิทธิภาพเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึกฝนเเละประสบการณ์ที่ต่เนื่องตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึงวัยปัจบัน

บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
  1.มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
  2.สนองความต้องการของเด็กในทุกด้าน
  3.ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
  4.ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลเเละสิ่งต่างๆ
  5.ส่งเสริมความสนใจของเด็ก
  6.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
  7.สร้างสิ่งเเวดล้อมที่ดีให้เเก่เด็ก
  8.ทำตัวเป็นครูของเด็ก
  9.การให้เเรงเสริมและการลงโทษ

รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  
บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรม้ลี้ยงดู 
     1.การตี
     2.การขู่
     3.การให้สินบน
     4.การเยาะเย้ย
     5.การทำโทษรุนเเรงเกินไป
     6.การล่อเลียน
     7.การคาดโทษ
     8.การกระทำให้ได้รับความเจ็บปวด
     9.การทำให้ได้รับความอับอาย
     10.การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า

ความสำคัญเเละวามสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก
วิธีดารอบเลี้ยงดู
      ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เเละลูก หมายถึงความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกเเละความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อมเเม่นั่นเองเเต่ละคนอาจจะมีความรู้สึกต่อพ่อเเม่ต่างกัน เช่นมีคำกล่าวว่าลูกสาสมักจะใกล้ชิดสนิทสนมกับเเม่มากกว่าพ่อ เป็นต้น

  เจตคติของพ่อเเม่ที่มีต่อลูก 6แบบ
    1. พ่อแม่ที่รักเเละคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป
   2.พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป
   3.พ่อเเม่ทอดทิ้งเด็ก
   4.พ่อแม่ที่ยอมนับเด็ก
   5.พ่อเเม่ที่ชอบบังคับลูก
   6.พ่อแม่ที่ยิมจำนนต่อลูก

                                                         
    


                                                               ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาไม่มาสาย ตั้งใจฟังและจดตามอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้ามาบางคนก็สายบ้างบางคนก็มารอเรียน
บ้างเเละเพื่อนเเต่ล่ะคนมีความตั้งใจเเละทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้ดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนและอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจให้ น้ำเสียงชัดเจนฟังแล้วไม่น่าเบื่อ


วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


20 กุมภาพันธุ์  2561

วันนี้เป็นวันที่ทุกคนต้องออกไปเล่าบทความหน้าชั้นเรียน อาจารย์ให้หัวข้อในการหาบทความคือ
ให้เกียวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เมื่อถึงเวลาเพื่อนๆแต่ละคนก็ออกไปนำเสนอบทความของตัวเอง ทุกคนมีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ส่วนดิฉันเลือกเอาบทความเรื่อง โภชนาการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เนื้อหาของบทความก็มีดังนี้


ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือแรกเกิด ถึง 7 ปี สมองพัฒนาไปถึง 80% ของผู้ใหญ่ เด็กจึงควรได้รับการดูแลด้านโภชนาการและสุขลักษณะ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้เต็มความสามารถ

อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ปี) จึงควรมีครบทั้ง 5 หมู่ และมีปริมาณเพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

แรกเกิด – 6 เดือน : นมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับทารกทุกคน เนื่องจากมีทั้งสารอาหารและภูมิต้านทานโรค 

6 เดือน - 1 ปี : น้ำนมแม่เริ่มลดลง จึงควรเริ่มอาหารเสริม กึ่งเหลวบดละเอียด 2-3 ช้อนโต๊ะ ให้เริ่ม 1 มื้อในช่วงแรก สังเกตอาการแพ้อาหาร เมื่อเด็กคุ้นเคยดีแล้วจึงเริ่มอาหารชนิดใหม่ ข้นขึ้นและหยาบขึ้นตามลำดับ 8-9 เดือน ให้อาหารเสริม 2 มื้อ 10-12 เดือน ให้อาหารเสริม 3 มื้อ ควรให้โอกาสทารกได้หยิบจับอาหารกินเองบ้างเมื่อใช้มือได้

1-5 ปี : เด็กต้องการอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตเต็มที่ของร่างกาย บำรุงเซลล์ประสาท เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรให้อาหารเหล่านี้แก่เด็ก

  • ตับ ไข่แดง เลือด ช่วยเสริมความจำ และสมาธิ
  • ปลา ช่วยเพิ่มความจำ การเรียนรู้ง่ายและรวดเร็ว
  • ผัก ผลไม้ มีวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ
  • นม เนื้อสัตว์ มีแร่ธาตุ มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • อาหารทะเล มีไอโอดีนมีผลต่อ IQ

พ่อแม่มีส่วนช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้ง่ายขึ้นโดย

  • ให้เด็กได้รับประทานอาหารครบทั้ง 3 มื้อ
  • จัดอาหารให้น่ารับประทาน สีสันดึงดูด ชมเชยเมื่อเด็กรับประทานอาหารหมด
  • พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับประทานอาหาร ไม่เลือกอาหาร และสนุกกับการรับประทานอาหาร
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารร่วมกัน

การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็กขึ้นกับ อาหาร พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ สมองจึงจะพัฒนาได้เต็มศักยภาพ แล้วประเทศของเราจะพัฒนาตามไปด้วย ดังคำกล่าว "เด็กฉลาด ชาติเจริญ"


เมื่อนำเสนอบทความครบทุกคนก็หมดเวลาพอดี อาจารย์ก็ปล่อย



ประเมินตัวเอง
วันนี้ก็เข้าเรียนตรงเวลา ไม่มาสาย เตรียมตัวมานำเสนอบทความเป็นอย่างดี และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเตรียมบทความมานำเสนอบทความเป็นอย่างดี 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แนะนำและคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอบทความเป็นอย่างดี 
และคอยอธิบายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เพื่อนนำเสนอ

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

13  กุมภาพันธ์ 2561

ก่อนเริ่มต้นการเรียนอาจารย์ก็ให้ปั๊มไก่เหมือนทุกครั้ง วันนีอาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้อีกหนึ่งงานคือ
ให้ไปสัมภาษณ์ครูผู้สอนระดับปฐมวัย 



จากนั้นเมื่อเพื่อนๆมากันเกือบครบแล้ว อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานของตัวเองเกี่ยวกับนักทฤษฎี มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

1.ทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์


ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmond Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ
โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ
อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

2.ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน




อีริค อีริคสัน(Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative

versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี

3.ทฤษฎีของกรีเซล


อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี
  ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ
  - ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี
  - ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี

4.ทฤษฎีด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก


ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lowrence Kohlberg) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี
  มี 2 ระยะ
  ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
  ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี

5.ทฤษฎีพัฒนการด้านความคิดเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์     (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก
พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้
 1. การให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
  2. การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
  3. พัฒนาการทางความคิด
  4. ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
  5. ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด

  6. การพัฒนาทางความคิด

กลุ่มไหนนำเสนอเสร็จแล้วก็ให้ลิ้งค์บล็อกของตัวเอง



เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เปิดข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ดูและได้อธิบายอย่างละเอียด








ประเมินอาจารย์

อาจารย์ใจดีน่ารักอธิบายได้อย่างละเอียด ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเตรียมงานมาเพื่อนำเสนอเป็นอย่างดี และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจมีลูกเล่นเยอะ

ประเมินตัวเอง

ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและเพื่อนนำเสนองานเป็นอย่างดี